ข้ามไปเนื้อหา

ฟรันส์ ฮัลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรันส์ ฮัลส์
ภาพคัดลอกภาพเหมือนตนเองของฟรันส์ ฮัลส์
เกิดประมาณ ค.ศ. 1582
แอนต์เวิร์ป แฟลนเดอส์ เนเธอร์แลนด์ของสเปน (ปัจจุบันอยู่ในเบลเยียม)
เสียชีวิต26 สิงหาคม ค.ศ. 1666 (83–84 ปี)
ฮาร์เลม สาธารณรัฐดัตช์ (ปัจจุบันอยู่ในเนเธอร์แลนด์)
สัญชาติดัตช์
ผลงานเด่นหญิงสาวยิปซี (ค.ศ. 1628)
แควาเลียร์ผู้หัวเราะ (ค.ศ. 1624)
เด็กชายผู้หัวเราะ (ประมาณ ค.ศ. 1625)

ฟรันส์ ฮัลส์ (ดัตช์: Frans Hals; ประมาณ ค.ศ. 1582 – 26 สิงหาคม ค.ศ. 1666) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ฮัลส์มีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนและการใช้ฝีแปรงที่อิสระและเป็นผู้นำวิธีการเขียนที่มีชีวิตชีวามาสู่ศิลปะดัตช์ และเป็นผู้มีบทบาทในการวิวัฒนาการการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มคนในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ชีวิต

[แก้]

ฟรันส์ ฮัลส์ เกิดเมื่อราว ค.ศ. 1582 หรือ ค.ศ. 1583[1] ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม) ครอบครัวของฮัลส์ก็เช่นเดียวกับครอบครัวอื่นที่หลบหนีออกจากแอนต์เวิร์ประหว่างการเสียเมืองแอนต์เวิร์ป (Fall of Antwerp, 1584–1585)[2] จากเนเธอร์แลนด์ของสเปนไปฮาร์เลมที่ฮัลส์อาศัยอยู่จนตลอดชีวิต ฮัลส์ได้รับการศึกษาทางศิลปะจากจิตรกรชาวเฟลมิชที่หลบหนีมาอีกคนหนึ่งกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander)[1][3] ที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิจริตนิยม แต่ไม่เห็นได้ชัดในภาพเขียน

เมื่ออายุได้ 27 ปีฮัลส์ก็ได้เป็นสมาชิกของสมาคมช่างนักบุญลูกา และเริ่มทำงานเป็นช่างซ่อมศิลปะสำหรับเทศบาลเมือง ฮัลส์ซ่อมภาพในงานสะสมขนาดใหญ่ที่กาเริล ฟัน มันเดอร์ บรรยายในหนังสือ "หนังสือจิตรกรรม" (Het Schilder-Boeck) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1604 งานที่เด่นคืองานของเคร์ตเคิน โตต ซินต์ ยันส์ (Geertgen tot Sint Jans), ยัน ฟัน สโคเริล (Jan van Scorel) และยัน โมสตาร์ต (Jan Mostaert) ที่แขวนอยู่ที่วัดเซนต์จอห์นในฮาร์เลม งานซ่อมภาพเขียนเป็นงานที่เมืองฮาร์เลมเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง เพราะงานเขียนทางศาสนาทั้งหมดถูกยึดหลังจากเกิดการทำลายรูปเคารพ แต่งานเขียนทั้งหมดมิได้เป็นของเมืองฮาร์เลมอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1625 หลังจากที่ผู้อาวุโสของเมืองตัดสินความเหมาะสมของภาพที่จะเป็นเจ้าของ งานที่เหลือถูกตัดสินว่าเป็นโรมันคาทอลิกเกินไปและถูกขายให้แก่กอร์เนลิส กลาสส์ ฟัน วีริงเงิน (Cornelis Claesz van Wieringen) สมาชิกสมาคมช่างเขียนด้วยกัน โดยมีข้อแม้ว่าต้องนำออกจากเมือง เมื่อไม่มีงานเขียนมากนักที่จะต้องซ่อม ฮัลส์จึงต้องเริ่มอาชีพใหม่เป็นช่างเขียนภาพเหมือน

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Frans Hals at the Netherlands Institute for Art History (ในภาษาดัตช์)
  2. Liedtke, Walter (August 2011). "Heilbrunn Timeline of Art History". metmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  3. Slive, Seymour, Frans Hals, and P. Biesboer (1989). Frans Hals. Munich: Prestel. p. 379. ISBN 9783791310329. OCLC 20742077.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]